รอบรั้ว ข่าวดึก วันที่ 8 มิถุนายน 2560NBT กับเทคโนโลยีประหยัดพลังงานอีโคเทคฮีทปั้ม
Article
ฉลากประหยัดไฟ คือฉลากที่บ่งบอกระดับการใช้ไฟฟ้าและข้อมูลเบื้องต้นต่างๆ ของเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น ประสิทธิภาพ ค่าใช้จ่ายต่อปี เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าได้อย่างเหมาะสมและประหยัดค่า ใช้จ่ายในระยะยาว ฉลากประหยัดไฟจะมีระดับความประหยัดตั้งแต่เบอร์ 1 ถึงเบอร์ 5 โดยที่เบอร์ 5 หมายถึงประหยัดไฟมากที่สุด คือมีอัตราการประหยัดพลังงาน (Energy Efficiency Ratio: EER) มากกว่า 11.0 หน่วย
ช่วยกันรักษ์โลกให้น่าอยู่ไปนานแสนนาน เลือกใช้นวัตกรรมที่ได้รับ “ฉลากเบอร์ 5” จากกระทรวงพลังงาน รับรองความประหยัดการใช้พลังงาน กับนวัตกรรมเพื่อชีวิตและสิ่งแวดล้อมกันนะครับ
Article
“Heat Pump หรือปั๊มความร้อน” เป็นเทคโนโลยีที่เราดึงเอา พลังงานความร้อนจากอากาศรอบตัวเรา เรียกว่า เป็น Renewable Energy เป็นพลังงานที่ฟรีมาใช้ประโยชน์ เพื่อให้เป็น แหล่งพลังงานป้อนให้กับ Heat Pump
ในประเทศไทย เทคโนโลยีปั๊มความร้อนที่ใช้กันแพร่หลาย เราใช้พลังงานความร้อนจาก อากาศเกือบทั้งหมด ประเทศเราอยู่ในเขตโซนที่มีอากาศร้อนชื้น เมื่อเรานำเอาความร้อนจากอากาศมาใช้สามารถมาผลิตน้ำร้อนได้สูงถึงอุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส และผลพลอยได้ที่ยิ่งใหญ่ของระบบปั๊มความร้อนคือ การคืนลมเย็นสู่สิ่งแวดล้อม ทำให้บรรยากาศของเราเย็นลง และไม่มีมลภาวะ CO2 ปลดปล่อยออกมา ซึ่งได้ประโยชน์ทั้งการประหยัดพลังงานและได้ประโยชน์ในเชิงสิ่งแวดล้อมด้วย ก่อให้เกิดการปฏิวัติวงการออกแบบการใช้ระบบน้ำร้อนในประเทศไทย โดยเฉพาะในวงการอุตสาหกรรมบริการ ด้านโรงแรมและโรงพยาบาล ถือได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ของภาคการผลิตน้ำร้อน นับเป็นความสำเร็จของประเทศชาติ ในเชิงวิศวกรรมการประหยัดพลังงานในระดับหนึ่ง เพราะในช่วงที่ ผ่านมานั้นค่าใช้จ่ายพลังงานเพิ่มขึ้นสูงมาก พอเราได้นำระบบ Heat Pump เข้ามาใช้งานในอตุสาหกรรมท่องเที่ยวและโรงแรม ทำให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวและโรงแรม ลดการใช้พลังงานต่ำลง กลายเป็นโรงแรมสีเขียว Green Hotel เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อุตสาหกรรมโรงพยาบาล เริ่มมองเห็นประโยชน์ ก็นำไปประยุกต์ใช้งาน มลภาวะที่เคยเห็น ในเรื่องของการผลิตที่ใช้ในหม้อไอน้ำ ซึ่งต้องใช้พลังงานฟอสซิล เผาไหม้และมี CO2 ปล่อยออกมา ก่อให้เกิดปัญหาภาวะโลกร้อน ปัญหามลภาวะนี้เริ่มลดน้อยหายไป นับได้ว่าเป็นการปฎิวัติที่ดี และคุ้มค่าอย่างมาก
Article
“บ.เจ-เซเว่น เอ็นจิเนียริ่ง จก” ปั้นแบรนด์”Ecotech” ผู้นำตลาดเครื่องทำน้ำร้อนแบบฮีทปั้มเผยสุดยอดเทคโนโลยีช่วยประหยัดพลังงานได้ถึง 2 ใน 3คืนลมเย็นสู่สิ่งแวดล้อมและไม่มีมลภาวะล่าสุดได้รับรองมาตรฐาน “ฉลากประหยัดพลังงานประสิทธิภาพสูงเบอร์ 5” จากกระทรวงพลังงาน เป็นรายแรกในเมืองไทยเล็งขยายฐานกลุ่มเป้าหมายโรงแรม โรงพยาบาล รีสอร์ตสปา อุตสาหกรรมต่างๆพร้อมตั้งตัวแทนจำหน่ายหวังเจาะตลาดอาเซียนเตรียมเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ฯในอนาคตนายวีระชัย จีระนันตสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจ-เซเว่น เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด(J-7 Engineering Co., Ltd)เปิดเผยว่าบริษัท เจ-เซเว่น เอ็นจิเนียริ่งก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2540 ดำเนินธุรกิจเป็นตัวแทนจำหน่าย และติดตั้งงานวิศวกรรมระบบน้ำร้อน ประปา ปรับอากาศ และ ระบบประหยัดพลังงานโดยเป็นตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของบริษัท Rheem Manufacturing Inc. USA ผู้ผลิตเครื่องทำน้ำร้อน ภายใต้แบรนด์สินค้า Rheemซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ชั้นนำอันดับ1ที่แพร่หลายและได้รับความเชื่อถือจากวิศวกรระบบน้ำร้อนทั่วโลกด้วยระบบทำน้ำร้อนแบบหม้อต้ม (Storage Water Heaters and Hot Water Boiler)โดยจำหน่ายและติดตั้งระบบน้ำร้อนดังกล่าวให้กับโรงแรมต่างๆในประเทศไทยที่ผ่านมา
ทั้งนี้ในปี 2543 ประเทศไทยตกอยู่ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจฟองสบู่แตก จำเป็นต้องแสวงหาพลังงานทดแทน
เพื่อช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในเรื่องพลังงานซึ่งภาครัฐพยายามหามาตรการส่งเสริมต่างๆ อาทิ ส่งเสริมการใช้พลังงานแสงอาทิตย์หรือพลังงานด้านอื่นๆเพื่อลดค่าใช้จ่ายบริษัทฯ ได้เล็งเห็นว่ามีเครื่องทำน้ำร้อนอีกประเภทหนึ่งที่เรียกว่า’ปั้มความร้อนหรือฮีทปั้ม’ (Heat Pump) ซึ่งเป็นที่นิยมใช้ในต่างประเทศ แต่ในเมืองไทยยังไม่มีใครออกแบบหรือผลิตเพื่อนำมาใช้ บริษัทฯจึงมีแนวคิดออกแบบและผลิตเครื่องทำน้ำร้อนระบบประหยัดพลังงาน “Energy Saving Technology” เป็นแห่งแรกในประเทศไทย และจำหน่ายภายใต้แบรนด์”Ecotech” (EcoTechHeat Pump) โดย “Heat Pump หรือปั๊มความร้อน”นั้นเป็นเทคโนโลยีที่ดึงเอาพลังงานความร้อนจากสิ่งแวดล้อมคืออากาศรอบตัวเราเรียกว่าRenewable Energy ซึ่งเป็นพลังงานที่ฟรีเหมือนพลังงานแสงอาทิตย์ด้วยการนำพลังงานความร้อนของอากาศมาใช้ประโยชน์เพื่อให้เป็นแหล่งพลังงานป้อนให้กับHeat Pump เมื่อเรานำเอาความร้อนจากอากาศมาใช้ ผลพลอยได้ของระบบปั๊มความร้อนคือการคืนลมเย็นสูสิ่งแวดล้อมทำให้บรรยากาศเย็นลง และไม่มีมลภาวะCO2 ปลดปล่อยออกมา ตลอดจนช่วยประหยัดพลังงานและลดต้นทุนการผลิตน้ำร้อนได้มากกว่า 70%เมื่อเทียบกับเครื่องทำน้ำร้อนไฟฟ้าทั่วไป
“เปรียบเทียบง่ายๆคือ เครื่องทำน้ำร้อนอีโคเทค”Ecotech” จะดึงพลังงานความร้อนจากรอบตัวที่มีอากาศร้อนชื้นของประเทศไทยประมาณ 35 องศาเซลเซียสเข้าสู่ภายในเครื่องปั้ม สามารถมาผลิตน้ำร้อนไดที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียสนี่คือคือเทคโนโลยีคือหัวใจของมันเมื่อคายพลังงานความร้อนไปให้กับน้ำแล้ว อากาศจะคืนกลับออกมาสู่สิ่งแวดล้อมกลายเป็นลมเย็น เท่ากับว่าเมื่อนำเครื่องทำน้ำร้อนชนิดนี้ไปติดตั้งที่ไหนก็จะทำให้โลกเย็นลง ไม่เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมและยังใช้พลังงานการผลิตน้ำร้อนเพียงแค่ 1 ใน 3 เมื่อเทียบกับระบบเครื่องทำน้ำร้อนทั่วไปอีกด้วย”
นายวีระชัย กล่าวว่า เนื่องจากบริษัทได้พยายามพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ ดังนั้นปีนี้บริษัทฯ จึงได้ตั้งเป้าหมายการเติบโตแบบก้าวกระโดด โดยขยายเข้าไปในกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ เช่น กลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ เป็นต้น รวมถึงตั้งเป้าขยายตัวแทนจำหน่ายไปต่างประเทศ อาทิ ประเทศพม่า และประเทศในกลุ่มอาเซียนซึ่งอุตสาหกรรมโรงแรมกำลังมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งเรายังมีแผนในการประชาสัมพันธ์ แบรนด์สินค้าผ่านช่องทางต่างๆอาทิเว็บไซต์ หรือทำการตลาดโดยตรงกับกลุ่มลูกค้า และในขณะเดียวกันก็มีการบอกต่อของลูกค้าหลังจากใช้ผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯจึงมั่นใจได้ในจุดเด่นของ เจ-เซเว่นคือเป็นบริษัทที่เติบโตด้วยนวัตกรรมมีองค์ความรู้ของตัวเอง ประกอบกับจรรยาบรรณความรับผิดชอบต่อตัวสินค้าและลูกค้าที่เป็นนโยบายหลักขององค์กร ผลความสำเร็จจากการนวัตกรรมของเราเรื่อยมา โดยล่าสุดปั้มความร้อนภายใต้แบรนด์Ecotechได้รับรองมาตรฐาน “ฉลากประหยัดพลังงานประสิทธิภาพสูงเบอร์ 5” จากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กระทรวงพลังงาน เป็นรายแรกในประเทศไทยและพร้อมนำนวัตกรรมนี้จัดแสดงภายในงาน “ASEAN Sustainable Energy Week 2017” ระหว่างวันที่ 7-10 มิถุนายน 2560 นี้ บริเวณหน้าฮอลล์ 103 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา
“เราพัฒนาผลิตภัณฑ์ปั้มความร้อนมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2543 ซึ่งในยุคนั้นยังไม่ค่อยมีคนรู้จักเทคโนโลยีนี้มากนัก ในยุคเริ่มต้นจึงยังไม่ค่อยมีใครเชื่อมั่นว่าผลิตภัณฑ์ตัวนี้สามารถประหยัดพลังงานได้จริงทั้งนี้ ที่ผ่านมามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้ทำการทดสอบเทคโนโลยีตัวนี้ด้วยการนำสินค้าของบริษัทเข้าไปทดสอบ จนได้มาตรฐานจากโรงงาน โดยกระทรวงพลังงานมองเห็นว่าเทคโนโลยีนี้เป็นประโยชน์และสามารถประหยัดพลังงานให้กับอุตสาหกรรมต่างๆและได้รับรองมาตรฐานการประหยัดพลังงานประสิทธิภาพสูงเบอร์ 5 เมื่อปี 2559 ที่ผ่านมานี่คือ ความสำเร็จของเรา”
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันเครื่องทำน้ำร้อนแบบฮีทปั๊มEcotechมีส่วนแบ่งในตลาดเครื่องทำน้ำร้อนประเภทนี้มากกว่า 50% โดยกลุ่มลูกค้าประมาณ 80-90% เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมโรงแรมและโรงพยาบาล ที่เหลือกระจายอยู่ในอุตสาหกรรมต่างๆ อาทิ รีสอร์ท คลับเฮาส์ สปา สระว่ายน้ำ ภัตตาคาร ระบบซักรีด และอุตสาหกรรมทั่วไป เนื่องจากเทคโนโลยีของปั้มความร้อนหรือฮีทปั้ม มีขีดความสามารถในการทำอุณหภูมิได้สูงสุดถึง 60 องศาเซลเซียส จึงนิยมใช้ในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ และอนาคตบริษัทฯ เตรียมจะขยายไปในกลุ่มครัวเรือนอีกด้วยซึ่งนอกจากนี้บริษัทยังได้ตั้งเป้าความสำเร็จเติบโตแบบยั่งยืน ด้วยการสร้างนวัตกรรมเพื่อให้สังคมมีส่วนรวมได้ประโยชน์ร่วมกัน จนสามารถเข้าสู่การระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ต่อไปในอนาคต
Article
พอเรานึกถึงสินค้านวัตกรรม เรามักจะมีความคิดที่ว่า 1.ราคาสูง 2.แพง 3.ไม่คุ้มค่า 4. ยุ่งยาก สุดท้ายผู้ประกอบการมักจะตัดสินใจเลือกใช้เทคโนโลยีแบบเดิม ไม่แปลกเลยครับ!!!
แต่วันนี้เราลองมาทบทวน และชวนวิเคราะห์กันดูนะครับ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าธุรกิจเรามีความจำเป็นต้องผลิตน้ำร้อน อุณหภูมิ 60 องศาเซสเซียส ปริมาณ 10 ลูกบาศก์เมตร ต่อวัน ค่าพลังงานความร้อนที่ใช้งานจะเป็นเท่าไหร่ครับ?
เรามาเริ่มหากันครับ เริ่มแรกเราหาค่า ปริมาณความร้อน
คิดได้จาก สูตร Q = mcp∆t , เมื่อ
Q คือ ปริมาณความร้อนที่ได้รับหรือสูญเสียไปมีหน่วยเป็นแคลอรี (cal )
m คือ มวลของวัตถุ มีหน่วยเป็นกรัม (kg)
cp คือ ความจุความร้อนจำเพาะของวัตถุมีหน่วยเป็นแคลอรีต่อกรัมองศาเซลเซียส (kJ/kg°C)
∆t คือ อุณหภูมิที่เปลี่ยนไปมีหน่วยเป็นองศาเซลเซียส ( °C )
ดังนั้น ปริมาณความร้อน (KW) ปริมาณน้ำ = 10,000 ลิตร/วัน = 10,000 kg
Q = 10,000 (kg/day) x 4.18 (kJ/kg.๐C) x 60-30 (๐C)
Q = 1,254,000 (KJ/day)
พลังงานความร้อนที่ใช้
Q = 1,254,000 (KJ/day)/ 60 (min/h)/ 60 (s/min)/ 24 (h/day)
Q = 348.3 (kW/day)
Q = 14.51 (kWh)
แสดงว่า ถ้าเราต้องผลิตน้ำร้อน ปริมาณ 10,000 ลิตร ต่อวัน เราจะต้องใช้พลังงานความร้อน สูงถึง 1,255,500 kJ/day หรือเท่ากับ 348.3 kW คิดเป็นชั่วโมง = 14.51 kWh
ในเชื้อเพลิงที่แตกต่างกัน เราจะพบว่า
- ถ้าเราใช้ไฟฟ้า คิดที่ทำงาน 12 ชม. จะใช้ไฟฟ้าสูงถึง 63,570 kWh ต่อปี คิดเป็น 254,283.33 บาท/ปี
- ถ้าเราใช้แก๊ส LPG จะใช้แก๊สสูงถึง 10,585 กิโลกรัม ต่อปี(ค่าพลังงานของ LPG 49.57 MJ/kg)*
- ถ้าเราใช้น้ำมันดีเซล จะใช้ปริมาณดีเซลสูงถึง 14,785 ลิตรต่อปี(ค่าพลังงานของดีเซล 36.42 MJ/l)*
- ถ้าเราใช้น้ำมันเตา จะใช้ปริมาณน้ำมันเตาสูงถึง 13,540 ลิตรต่อปี(ค่าพลังงานของดีเซล 39.77 MJ/l)*
- ถ้าเราใช้ heat pump ที่ใช้ผลิตน้ำร้อนต่อวัน 348.3 kWh/day เราสามารถเลือกใช้ heat pump ขนาด 60 kWความร้อน ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าเพียง 18 kW จะทำงานให้ได้ความร้อนขนาด 348.3 kWh/day จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเท่าไร
การหาค่าใช้จ่ายของปั๊มความร้อนเพื่อใช้พลังงานให้เพียงพอต่อวัน = 348.3 kWh/day
= 348.3 kWh/day/ 60 kWheat
= 5.81 h/day
= 5.81 h/day x 18 kWele
= 104.58 kWh/day
= 38,143 kWh/year
คิดเป็นจำนวนเงิน = 152,570 บาท/ปี
คิดค่าพลังงานไฟฟ้า 4 บาท/kWh
จากผลการวิเคราะห์ทั้งหมดพบว่า การใช้พลังงานของปั๊มความร้อนใช้พลังงานน้อยที่สุด ดังแสดงในตารางที่ 1 และ 2
คำถามนี้น่าจะตอบได้จากตารางเปรียบเทียบนี้ จะเห็นถึงความคุ้มค่าทั้งในด้านงบประมาณค่าใช้จ่ายและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมกันนะครับ
COP = Coefficient of Performance คือ การคำนวณหาค่าประสิทธิภาพของปั๊มความร้อน โดย คำนวณจาก
ค่าพลังงานความร้อนที่ได้ / ค่าพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ไป
ในบางบริษัท จะคิด ค่าพลังงานที่ได้ จาก เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน (plate heat exchanger) / ค่ากำลังไฟฟ้าที่ใช้กับคอมเพรซเซอร์ ซึ่งใช่ครับ นั่นคือ ประสิทธิภาพ แต่เป็นประสิทธิภาพของเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน ไม่ใช่ของปั๊มความร้อน
แต่การคำนวณหา ค่าประสิทธิภาพของปั๊มความร้อน จะแตกต่างกันครับ โดยมาตรฐานของยุโรปภายใต้ มาตรฐาน EN255-3 การหาค่าประสิทธิภาพของปั๊มความร้อน เรียกว่า Coefficient of Performance for tapping (COPt) นั่นคือ การทดสอบหาค่าสัมประสิทธิสมรรถนะของเครื่องปั๊มความร้อน ในขณะที่ดึงน้ำร้อนของทั้งระบบไปใช้งาน โดยคำนวณได้จาก
ค่าพลังงานของน้ำร้อน ที่ผลิตได้เก็บไว้ในถังแล้วพร้อมนำไปใช้งาน / (พลังงานไฟฟ้าที่ใช้ไป x การสูญเสียความร้อนของทั้งระบบ)
จะเห็นชัดเจนครับว่า การคำนวณหา ค่าประสิทธิภาพของปั้มความร้อน ด้วย COP ทั่วไป และ COPt แตกต่างกันครับ
การคำนวณโดยใช้ค่า COPt จะได้ค่าประสิทธิภาพ ที่ใกล้เคียงกับการใช้งานของระบบงานน้ำร้อนมากที่สุด
ซึ่งผู้ที่ได้รับฉลากประสิทธิภาพสูง (ฉลากเบอร์ 5) ต้องผ่านการทดสอบประสิทธิภาพของปั๊มความร้อน วิธีเดียวกับมาตรฐาน EN255-3 (แต่ปรับปรุงสภาพอากาศให้เหมาะสมกับประเทศไทย)
ดังนั้นผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการทดสอบด้วยมาตรฐานนี้ ทำให้ผู้ประกอบการทุกท่านมั่นใจว่า ประหยัดพลังงาน ประสิทธิภาพสูงจริง!