POSTS
SEARCH
SHOP
  • Your Cart Is Empty!
Your address will show here +12 34 56 78
Article

ฉลากประหยัดไฟ คือฉลากที่บ่งบอกระดับการใช้ไฟฟ้าและข้อมูลเบื้องต้นต่างๆ ของเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น ประสิทธิภาพ ค่าใช้จ่ายต่อปี เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าได้อย่างเหมาะสมและประหยัดค่า ใช้จ่ายในระยะยาว ฉลากประหยัดไฟจะมีระดับความประหยัดตั้งแต่เบอร์ 1 ถึงเบอร์ 5 โดยที่เบอร์ 5 หมายถึงประหยัดไฟมากที่สุด คือมีอัตราการประหยัดพลังงาน (Energy Efficiency Ratio: EER) มากกว่า 11.0 หน่วย

ช่วยกันรักษ์โลกให้น่าอยู่ไปนานแสนนาน เลือกใช้นวัตกรรมที่ได้รับ “ฉลากเบอร์ 5” จากกระทรวงพลังงาน รับรองความประหยัดการใช้พลังงาน กับนวัตกรรมเพื่อชีวิตและสิ่งแวดล้อมกันนะครับ

0

Article

“Heat Pump หรือปั๊มความร้อน” เป็นเทคโนโลยีที่เราดึงเอา พลังงานความร้อนจากอากาศรอบตัวเรา  เรียกว่า เป็น Renewable Energy เป็นพลังงานที่ฟรีมาใช้ประโยชน์ เพื่อให้เป็น แหล่งพลังงานป้อนให้กับ Heat Pump  

ในประเทศไทย เทคโนโลยีปั๊มความร้อนที่ใช้กันแพร่หลาย เราใช้พลังงานความร้อนจาก อากาศเกือบทั้งหมด  ประเทศเราอยู่ในเขตโซนที่มีอากาศร้อนชื้น  เมื่อเรานำเอาความร้อนจากอากาศมาใช้สามารถมาผลิตน้ำร้อนได้สูงถึงอุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส และผลพลอยได้ที่ยิ่งใหญ่ของระบบปั๊มความร้อนคือ การคืนลมเย็นสู่สิ่งแวดล้อม ทำให้บรรยากาศของเราเย็นลง  และไม่มีมลภาวะ CO2 ปลดปล่อยออกมา   ซึ่งได้ประโยชน์ทั้งการประหยัดพลังงานและได้ประโยชน์ในเชิงสิ่งแวดล้อมด้วย   ก่อให้เกิดการปฏิวัติวงการออกแบบการใช้ระบบน้ำร้อนในประเทศไทย โดยเฉพาะในวงการอุตสาหกรรมบริการ ด้านโรงแรมและโรงพยาบาล  ถือได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ของภาคการผลิตน้ำร้อน นับเป็นความสำเร็จของประเทศชาติ ในเชิงวิศวกรรมการประหยัดพลังงานในระดับหนึ่ง  เพราะในช่วงที่ ผ่านมานั้นค่าใช้จ่ายพลังงานเพิ่มขึ้นสูงมาก พอเราได้นำระบบ Heat Pump เข้ามาใช้งานในอตุสาหกรรมท่องเที่ยวและโรงแรม ทำให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวและโรงแรม ลดการใช้พลังงานต่ำลง กลายเป็นโรงแรมสีเขียว Green Hotel เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม  อุตสาหกรรมโรงพยาบาล เริ่มมองเห็นประโยชน์ ก็นำไปประยุกต์ใช้งาน มลภาวะที่เคยเห็น ในเรื่องของการผลิตที่ใช้ในหม้อไอน้ำ ซึ่งต้องใช้พลังงานฟอสซิล เผาไหม้และมี CO2 ปล่อยออกมา ก่อให้เกิดปัญหาภาวะโลกร้อน ปัญหามลภาวะนี้เริ่มลดน้อยหายไป นับได้ว่าเป็นการปฎิวัติที่ดี และคุ้มค่าอย่างมาก

0

Article
“บ.เจ-เซเว่น เอ็นจิเนียริ่ง จก” ปั้นแบรนด์”Ecotech” ผู้นำตลาดเครื่องทำน้ำร้อนแบบฮีทปั้มเผยสุดยอดเทคโนโลยีช่วยประหยัดพลังงานได้ถึง 2 ใน 3คืนลมเย็นสู่สิ่งแวดล้อมและไม่มีมลภาวะล่าสุดได้รับรองมาตรฐาน “ฉลากประหยัดพลังงานประสิทธิภาพสูงเบอร์ 5” จากกระทรวงพลังงาน เป็นรายแรกในเมืองไทยเล็งขยายฐานกลุ่มเป้าหมายโรงแรม โรงพยาบาล รีสอร์ตสปา อุตสาหกรรมต่างๆพร้อมตั้งตัวแทนจำหน่ายหวังเจาะตลาดอาเซียนเตรียมเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ฯในอนาคต

นายวีระชัย จีระนันตสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจ-เซเว่น เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด(J-7 Engineering Co., Ltd)เปิดเผยว่าบริษัท เจ-เซเว่น เอ็นจิเนียริ่งก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2540 ดำเนินธุรกิจเป็นตัวแทนจำหน่าย และติดตั้งงานวิศวกรรมระบบน้ำร้อน ประปา ปรับอากาศ และ ระบบประหยัดพลังงานโดยเป็นตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของบริษัท Rheem Manufacturing Inc. USA ผู้ผลิตเครื่องทำน้ำร้อน ภายใต้แบรนด์สินค้า Rheemซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ชั้นนำอันดับ1ที่แพร่หลายและได้รับความเชื่อถือจากวิศวกรระบบน้ำร้อนทั่วโลกด้วยระบบทำน้ำร้อนแบบหม้อต้ม (Storage Water Heaters and Hot Water Boiler)โดยจำหน่ายและติดตั้งระบบน้ำร้อนดังกล่าวให้กับโรงแรมต่างๆในประเทศไทยที่ผ่านมา

ทั้งนี้ในปี 2543 ประเทศไทยตกอยู่ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจฟองสบู่แตก จำเป็นต้องแสวงหาพลังงานทดแทน

เพื่อช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในเรื่องพลังงานซึ่งภาครัฐพยายามหามาตรการส่งเสริมต่างๆ อาทิ ส่งเสริมการใช้พลังงานแสงอาทิตย์หรือพลังงานด้านอื่นๆเพื่อลดค่าใช้จ่ายบริษัทฯ ได้เล็งเห็นว่ามีเครื่องทำน้ำร้อนอีกประเภทหนึ่งที่เรียกว่า’ปั้มความร้อนหรือฮีทปั้ม’ (Heat Pump) ซึ่งเป็นที่นิยมใช้ในต่างประเทศ แต่ในเมืองไทยยังไม่มีใครออกแบบหรือผลิตเพื่อนำมาใช้ บริษัทฯจึงมีแนวคิดออกแบบและผลิตเครื่องทำน้ำร้อนระบบประหยัดพลังงาน “Energy Saving Technology” เป็นแห่งแรกในประเทศไทย และจำหน่ายภายใต้แบรนด์”Ecotech” (EcoTechHeat Pump) โดย “Heat Pump หรือปั๊มความร้อน”นั้นเป็นเทคโนโลยีที่ดึงเอาพลังงานความร้อนจากสิ่งแวดล้อมคืออากาศรอบตัวเราเรียกว่าRenewable Energy ซึ่งเป็นพลังงานที่ฟรีเหมือนพลังงานแสงอาทิตย์ด้วยการนำพลังงานความร้อนของอากาศมาใช้ประโยชน์เพื่อให้เป็นแหล่งพลังงานป้อนให้กับHeat Pump เมื่อเรานำเอาความร้อนจากอากาศมาใช้ ผลพลอยได้ของระบบปั๊มความร้อนคือการคืนลมเย็นสูสิ่งแวดล้อมทำให้บรรยากาศเย็นลง และไม่มีมลภาวะCO2 ปลดปล่อยออกมา ตลอดจนช่วยประหยัดพลังงานและลดต้นทุนการผลิตน้ำร้อนได้มากกว่า 70%เมื่อเทียบกับเครื่องทำน้ำร้อนไฟฟ้าทั่วไป

“เปรียบเทียบง่ายๆคือ เครื่องทำน้ำร้อนอีโคเทค”Ecotech” จะดึงพลังงานความร้อนจากรอบตัวที่มีอากาศร้อนชื้นของประเทศไทยประมาณ 35 องศาเซลเซียสเข้าสู่ภายในเครื่องปั้ม สามารถมาผลิตน้ำร้อนไดที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียสนี่คือคือเทคโนโลยีคือหัวใจของมันเมื่อคายพลังงานความร้อนไปให้กับน้ำแล้ว อากาศจะคืนกลับออกมาสู่สิ่งแวดล้อมกลายเป็นลมเย็น เท่ากับว่าเมื่อนำเครื่องทำน้ำร้อนชนิดนี้ไปติดตั้งที่ไหนก็จะทำให้โลกเย็นลง ไม่เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมและยังใช้พลังงานการผลิตน้ำร้อนเพียงแค่ 1 ใน 3 เมื่อเทียบกับระบบเครื่องทำน้ำร้อนทั่วไปอีกด้วย”

นายวีระชัย กล่าวว่า เนื่องจากบริษัทได้พยายามพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ ดังนั้นปีนี้บริษัทฯ จึงได้ตั้งเป้าหมายการเติบโตแบบก้าวกระโดด โดยขยายเข้าไปในกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ เช่น กลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ เป็นต้น รวมถึงตั้งเป้าขยายตัวแทนจำหน่ายไปต่างประเทศ อาทิ ประเทศพม่า และประเทศในกลุ่มอาเซียนซึ่งอุตสาหกรรมโรงแรมกำลังมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งเรายังมีแผนในการประชาสัมพันธ์ แบรนด์สินค้าผ่านช่องทางต่างๆอาทิเว็บไซต์ หรือทำการตลาดโดยตรงกับกลุ่มลูกค้า และในขณะเดียวกันก็มีการบอกต่อของลูกค้าหลังจากใช้ผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯจึงมั่นใจได้ในจุดเด่นของ เจ-เซเว่นคือเป็นบริษัทที่เติบโตด้วยนวัตกรรมมีองค์ความรู้ของตัวเอง ประกอบกับจรรยาบรรณความรับผิดชอบต่อตัวสินค้าและลูกค้าที่เป็นนโยบายหลักขององค์กร ผลความสำเร็จจากการนวัตกรรมของเราเรื่อยมา โดยล่าสุดปั้มความร้อนภายใต้แบรนด์Ecotechได้รับรองมาตรฐาน “ฉลากประหยัดพลังงานประสิทธิภาพสูงเบอร์ 5” จากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กระทรวงพลังงาน เป็นรายแรกในประเทศไทยและพร้อมนำนวัตกรรมนี้จัดแสดงภายในงาน “ASEAN Sustainable Energy Week 2017” ระหว่างวันที่ 7-10 มิถุนายน 2560 นี้ บริเวณหน้าฮอลล์ 103 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา

“เราพัฒนาผลิตภัณฑ์ปั้มความร้อนมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2543 ซึ่งในยุคนั้นยังไม่ค่อยมีคนรู้จักเทคโนโลยีนี้มากนัก ในยุคเริ่มต้นจึงยังไม่ค่อยมีใครเชื่อมั่นว่าผลิตภัณฑ์ตัวนี้สามารถประหยัดพลังงานได้จริงทั้งนี้ ที่ผ่านมามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้ทำการทดสอบเทคโนโลยีตัวนี้ด้วยการนำสินค้าของบริษัทเข้าไปทดสอบ จนได้มาตรฐานจากโรงงาน โดยกระทรวงพลังงานมองเห็นว่าเทคโนโลยีนี้เป็นประโยชน์และสามารถประหยัดพลังงานให้กับอุตสาหกรรมต่างๆและได้รับรองมาตรฐานการประหยัดพลังงานประสิทธิภาพสูงเบอร์ 5 เมื่อปี 2559 ที่ผ่านมานี่คือ ความสำเร็จของเรา”

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันเครื่องทำน้ำร้อนแบบฮีทปั๊มEcotechมีส่วนแบ่งในตลาดเครื่องทำน้ำร้อนประเภทนี้มากกว่า 50% โดยกลุ่มลูกค้าประมาณ 80-90% เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมโรงแรมและโรงพยาบาล ที่เหลือกระจายอยู่ในอุตสาหกรรมต่างๆ อาทิ รีสอร์ท คลับเฮาส์ สปา สระว่ายน้ำ ภัตตาคาร ระบบซักรีด และอุตสาหกรรมทั่วไป เนื่องจากเทคโนโลยีของปั้มความร้อนหรือฮีทปั้ม มีขีดความสามารถในการทำอุณหภูมิได้สูงสุดถึง 60 องศาเซลเซียส จึงนิยมใช้ในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ และอนาคตบริษัทฯ เตรียมจะขยายไปในกลุ่มครัวเรือนอีกด้วยซึ่งนอกจากนี้บริษัทยังได้ตั้งเป้าความสำเร็จเติบโตแบบยั่งยืน ด้วยการสร้างนวัตกรรมเพื่อให้สังคมมีส่วนรวมได้ประโยชน์ร่วมกัน จนสามารถเข้าสู่การระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ต่อไปในอนาคต

0

Article

พอเรานึกถึงสินค้านวัตกรรม เรามักจะมีความคิดที่ว่า     1.ราคาสูง   2.แพง     3.ไม่คุ้มค่า    4. ยุ่งยาก  สุดท้ายผู้ประกอบการมักจะตัดสินใจเลือกใช้เทคโนโลยีแบบเดิม ไม่แปลกเลยครับ!!!

แต่วันนี้เราลองมาทบทวน และชวนวิเคราะห์กันดูนะครับ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าธุรกิจเรามีความจำเป็นต้องผลิตน้ำร้อน อุณหภูมิ 60 องศาเซสเซียส ปริมาณ 10 ลูกบาศก์เมตร ต่อวัน ค่าพลังงานความร้อนที่ใช้งานจะเป็นเท่าไหร่ครับ? 

เรามาเริ่มหากันครับ เริ่มแรกเราหาค่า ปริมาณความร้อน
คิดได้จาก สูตร    Q = mcp∆t , เมื่อ
                            Q  คือ  ปริมาณความร้อนที่ได้รับหรือสูญเสียไปมีหน่วยเป็นแคลอรี (cal )
                           m  คือ  มวลของวัตถุ มีหน่วยเป็นกรัม (kg)
                           cp  คือ  ความจุความร้อนจำเพาะของวัตถุมีหน่วยเป็นแคลอรีต่อกรัมองศาเซลเซียส (kJ/kg°C)
                           ∆t  คือ  อุณหภูมิที่เปลี่ยนไปมีหน่วยเป็นองศาเซลเซียส ( °C )

ดังนั้น      ปริมาณความร้อน (KW) ปริมาณน้ำ = 10,000 ลิตร/วัน = 10,000 kg
                           Q = 10,000 (kg/day) x 4.18 (kJ/kg.C) x 60-30 (C)
                           Q = 1,254,000 (KJ/day)

พลังงานความร้อนที่ใช้                         
                           Q = 1,254,000 (KJ/day)/ 60 (min/h)/ 60 (s/min)/ 24 (h/day)
                           Q = 348.3 (kW/day)
                           Q = 14.51 (kWh)
แสดงว่า ถ้าเราต้องผลิตน้ำร้อน ปริมาณ 10,000 ลิตร ต่อวัน เราจะต้องใช้พลังงานความร้อน สูงถึง 1,255,500 kJ/day หรือเท่ากับ 348.3 kW คิดเป็นชั่วโมง = 14.51 kWh

ในเชื้อเพลิงที่แตกต่างกัน เราจะพบว่า

  1. ถ้าเราใช้ไฟฟ้า คิดที่ทำงาน 12 ชม. จะใช้ไฟฟ้าสูงถึง 63,570 kWh ต่อปี คิดเป็น 254,283.33 บาท/ปี
  2. ถ้าเราใช้แก๊ส LPG จะใช้แก๊สสูงถึง 10,585 กิโลกรัม ต่อปี(ค่าพลังงานของ LPG 49.57 MJ/kg)*
  3. ถ้าเราใช้น้ำมันดีเซล จะใช้ปริมาณดีเซลสูงถึง 14,785 ลิตรต่อปี(ค่าพลังงานของดีเซล 36.42 MJ/l)*
  4. ถ้าเราใช้น้ำมันเตา จะใช้ปริมาณน้ำมันเตาสูงถึง 13,540 ลิตรต่อปี(ค่าพลังงานของดีเซล 39.77 MJ/l)*
           *คิดประสิทธิภาพของหม้อน้ำที่ 85%
  1. ถ้าเราใช้ heat pump ที่ใช้ผลิตน้ำร้อนต่อวัน 348.3 kWh/day เราสามารถเลือกใช้ heat pump ขนาด 60 kWความร้อน ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าเพียง 18 kW  จะทำงานให้ได้ความร้อนขนาด 348.3 kWh/day จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเท่าไร

การหาค่าใช้จ่ายของปั๊มความร้อนเพื่อใช้พลังงานให้เพียงพอต่อวัน    =          348.3 kWh/day
                                                                                                                =          348.3 kWh/day/ 60 kWheat
                                                                                                                =          5.81 h/day
                                                                                                                =          5.81 h/day x 18 kWele
                                                                                                                =          104.58 kWh/day
                                                                                                                =         38,143 kWh/year
คิดเป็นจำนวนเงิน                                                                                   =          152,570 บาท/ปี
คิดค่าพลังงานไฟฟ้า 4 บาท/kWh

จากผลการวิเคราะห์ทั้งหมดพบว่า การใช้พลังงานของปั๊มความร้อนใช้พลังงานน้อยที่สุด ดังแสดงในตารางที่ 1 และ 2

คำถามนี้น่าจะตอบได้จากตารางเปรียบเทียบนี้ จะเห็นถึงความคุ้มค่าทั้งในด้านงบประมาณค่าใช้จ่ายและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมกันนะครับ    

0

ผู้ที่ได้รับฉลากประสิทธิภาพสูง (ฉลากเบอร์ 5) ต้องผ่านการทดสอบหาค่าประสิทธิภาพพลังงานของปั๊มความร้อน โดยวัดค่าประสิทธิภาพของปั๊มความร้อน (COPt) ต้องมากกว่า หรือเท่ากับ 3.0  มาตรฐานของประเทศไทย ได้มีการพัฒนาปรับปรุง จนปัจจุบันได้ทำการพัฒนาปรับปรุง โดยอ้างอิงวิธีการทดสอบจากมาตรฐานของยุโรปเลขที่ EN255-3 โดยคิดประสิทธิภาพการดึงน้ำร้อนที่ผลิตเสร็จแล้วออกไปใช้งาน (COP for tapping) และ ควบคุมสภาวะอากาศขณะทดสอบ ให้เหมาะสมกับประเทศไทย ที่อุณหภูมิ 35°C 40 %RH  ตามสภาวะการทดสอบ ตารางที่1

ตารางที่ 1 สภาวะการทดสอบ ตามมาตรฐาน EN 255-3 มีดังนี้

สภาวะการทดสอบ

มาตรฐาน EN 255-3

การทดสอบปั๊มความร้อนในประเทศไทย

อุณหภูมิการเปาะแห้งในห้องทดสอบ (Tdrybulb)

15 C

35 C

อุณหภูมิการเปาะเปียกในห้องทดสอบ (Twetbulb)

12C

24 C

อุณหภูมิการเปาะแห้งของอากาศที่ออกจากเครื่องปั๊มความร้อน

ไม่กำหนด

น้อยกว่า 30 C

อุณหภูมิน้ำป้อนเข้าถังพักน้ำร้อน

15 C

25 C

อุณหภูมิน้ำที่ตั้งไว้ให้เครื่องปั๊มความร้อนตัดการทำงาน

ตามข้อกำหนดของเครื่อง

55 C

อุณหภูมิน้ำที่ตั้งไว้ให้เครื่องปั๊มความร้อนต่อการทำงาน

ตามข้อกำหนดของเครื่อง

50 C

อัตราไหลเมื่อมีการดึงน้ำไปใช้งาน

0.2 L/s เมื่อ Vn<=400 L

0.0005*Vn เมื่อ Vn>400 L

0.2 L/s เมื่อ Vn <=400 L

0.0005*Vn เมื่อ Vn>400 L

0

COP = Coefficient of Performance   คือ การคำนวณหาค่าประสิทธิภาพของปั๊มความร้อน โดย คำนวณจาก

ค่าพลังงานความร้อนที่ได้  / ค่าพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ไป

ในบางบริษัท จะคิด ค่าพลังงานที่ได้ จาก เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน (plate heat exchanger) / ค่ากำลังไฟฟ้าที่ใช้กับคอมเพรซเซอร์ ซึ่งใช่ครับ นั่นคือ ประสิทธิภาพ แต่เป็นประสิทธิภาพของเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน ไม่ใช่ของปั๊มความร้อน
แต่การคำนวณหา ค่าประสิทธิภาพของปั๊มความร้อน จะแตกต่างกันครับ โดยมาตรฐานของยุโรปภายใต้ มาตรฐาน EN255-3 การหาค่าประสิทธิภาพของปั๊มความร้อน เรียกว่า Coefficient of Performance for tapping (COPt) นั่นคือ การทดสอบหาค่าสัมประสิทธิสมรรถนะของเครื่องปั๊มความร้อน ในขณะที่ดึงน้ำร้อนของทั้งระบบไปใช้งาน  โดยคำนวณได้จาก

ค่าพลังงานของน้ำร้อน ที่ผลิตได้เก็บไว้ในถังแล้วพร้อมนำไปใช้งาน / (พลังงานไฟฟ้าที่ใช้ไป x การสูญเสียความร้อนของทั้งระบบ)

จะเห็นชัดเจนครับว่า การคำนวณหา ค่าประสิทธิภาพของปั้มความร้อน ด้วย COP ทั่วไป และ COPt  แตกต่างกันครับ
การคำนวณโดยใช้ค่า COPt จะได้ค่าประสิทธิภาพ ที่ใกล้เคียงกับการใช้งานของระบบงานน้ำร้อนมากที่สุด

ซึ่งผู้ที่ได้รับฉลากประสิทธิภาพสูง (ฉลากเบอร์ 5) ต้องผ่านการทดสอบประสิทธิภาพของปั๊มความร้อน วิธีเดียวกับมาตรฐาน EN255-3 (แต่ปรับปรุงสภาพอากาศให้เหมาะสมกับประเทศไทย)

ดังนั้นผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการทดสอบด้วยมาตรฐานนี้ ทำให้ผู้ประกอบการทุกท่านมั่นใจว่า ประหยัดพลังงาน ประสิทธิภาพสูงจริง!
0

Article

ก้าวสำคัญด้านพลังงาน ภายใต้แผน TIEB

จากสภาวะราคาน้ำมันโลกตกต่ำในช่วง ปลายปี พ.ศ. 2557 พลังงานทดแทน แจ้งเกิด กระทรวงพลังงานได้เล็งเห็นว่า ประเทศไทยยังมีโอกาสด้านพลังงาน ใน 3 ด้านหลัก นั่นคือ (1) ด้านการเข้าถึงพลังงานทดแทน อาทิ แสงอาทิตย์ ก๊าซชีวภาพ เชื้อเพลิงชีวมวล และเทคโนโลยีถ่านหินสะอาด กอรปกับ (2) ประเทศไทยสามารถหาซื้อพลังงานในราคาลดลงได้ จึงได้ทยอยลดการอุดหนุนราคาแบบหน้ากระดาน  และ(3) ประเทศไทยเรารายล้อมเพื่อนบ้านที่มีทรัพยากรพลังงาน และเราเองยังมีทรัพยากรด้านการเกษตรในประเทศจำนวนมากที่สามารถนำมาผลิตพลังงานในระดับหนึ่ง
จากจุดนี้เอง กระทรวงพลังงานจึงได้กำหนดกลยุทธ์ที่เป็น ก้าวสำคัญด้านพลังงาน ภายใต้แผน TIEB ใน 5ประเด็นหลัก คือ

  1. การยกเลิกชดเชยราคาพลังงาน เพื่อปรับให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงตามกลไลตลาด
  2. ผลักดันการใช้พลังงานทดแทน ส่งเสริมชีวมวลและก๊าซชีวภาพ ในรูปแบบการนำขยะมาผลิตเป็นพลังงาน และการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ และพลังงานลม
  3. ลดการพึ่งพาก๊าซธรรมชาติ ที่มีสัดส่วนถึง 60-70% เร่งสร้างสมดุลในการผลิตไฟฟ้า โดยเพิ่มการนำเทคโนโลยีถ่านหินสะอาดมาใช้ในการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้น
  4. เพิ่มปริมาณการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ (Bio Fuels) เพื่อลดการนำเข้าน้ำมัน อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มมูลค่าผลผลิตการเกษตรให้กับภาคเกษตรกรอีกด้วย
  5. ยืดอายุแหล่งทรัพยากรในประเทศ โดยกำหนดนโยบายกระตุ้นการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในประเทศ

Thailand Integrated Energy Blueprint: TIEB หรือ แผนบูรณาการพลังงานระยะยาว (พ.ศ.2558-2579) ถือได้ว่าเป็นแผนการด้านพลังงานที่สำคัญของประเทศไทย ในขณะนี้ ที่พยายามพัฒนา ครอบคลุมมิติทางด้านพลังงาน และห่วงโซ่คุณค่า (Value chain) อย่างครบถ้วน

0

PREVIOUS POSTSPage 1 of 2NO NEW POSTS
English